

มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 69 โดยมีระเบียบการดังต่อไปนี้
- ประเภทและขนาดของศิลปกรรม ได้แก่
- ประเภทจิตรกรรม (Painting) ได้แก่ ภาพเขียนที่ใช้กรรมวิธีและเทคนิคทางด้านจิตรกรรมเป็นหลัก เช่น สีน้ำ สีฝุ่น สีน้ำมัน สีอะครีลิค และการวาดเส้น ทั้งในรูปแบบสองมิติและสามมิติ จิตรกรรมสื่อผสม รวมถึงจิตรกรรมในรูปแบบศิลปะจัดวาง ผลงานต้องมีขนาด กว้าง ยาว สูง แต่ละด้านไม่เกิน 2.60 เมตรรวมกรอบ
- ประเภทประติมากรรม (Sculpture) ได้แก่ ผลงานที่ใช้กระบวนการทางเทคนิค กรรมวิธี การใช้วัสดุต่างๆ เช่น ปูนปลาสเตอร์ ดินเหนียว โลหะ ไม้ พลาสติก และอื่น ๆ ในรูปแบบประติมากรรมนูนต่ำหรือ นูนสูง รวมถึง ประติมากรรมลอยตัว ประติมากรรมสื่อผสม และประติมากรรมรูปแบบศิลปะจัดวาง ผลงานต้องมีขนาด กว้าง ยาว สูง แต่ละด้านไม่เกิน 2 เมตร ไม่รวมแท่นและฐาน
- ประเภทภาพพิมพ์ (Prints) ได้แก่ ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ประเภทต่าง ๆ ภาพพิมพ์โมโนพริ้นท์ ภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะ ภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ ภาพพิมพ์แม่พิมพ์ตะแกรงไหม ภาพพิมพ์จากกระบวนการสร้างสรรค์ที่ใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ รวมถึง ภาพพิมพ์สามมิติ ภาพพิมพ์สื่อผสม และภาพพิมพ์ในรูปแบบศิลปะจัดวาง ผลงาน ต้องมีขนาด กว้าง ยาว สูง แต่ละด้านไม่เกิน 2.60 เมตร รวมกรอบ
- ประเภทสื่อประสม (Multimedia) ได้แก่ ผลงานศิลปกรรมที่ใช้เทคนิค กรรมวิธีทางศิลปะและสื่อประเภทต่าง ๆ ที่ผสมผสานกัน เช่น งานจิตรกรรมผสมกับงานประติมากรรม หรืองานภาพพิมพ์ รวมถึง สื่อทางเทคโนโลยีในลักษณะผสมผสาน งานภาพเคลื่อนไหว และงานสื่อประสมในรูปแบบศิลปะจัดวาง ผลงานต้องมีขนาด กว้าง ยาว สูง แต่ละด้านไม่เกิน 2.80 เมตร ไม่รวมอุปกรณ์ อาทิ เครื่องฉาย และไฟ
ทั้งนี้ คณะกรรมการมีสิทธิ์ในการไม่พิจารณาผลงาน หากผลงานนั้น ๆ ไม่เป็นไปตามประเภทที่ได้ระบุไว้ข้างต้น โดยการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด จะอุทธรณ์มิได้
- ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวด
- ศิลปินสัญชาติไทย ที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมด้วยความคิดของตนเอง และ ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่เคยได้รับรางวัลหรือร่วมแสดงจากการประกวดใด ๆ มาก่อน ยกเว้น การนำไปแสดงในรูปแบบการศึกษาทุกระดับ ซึ่งเป็นข้อกำหนดการสำเร็จการศึกษา
- มหาวิทยาลัยศิลปากร ไม่รับผลงานฯ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเข้าประกวดทุกกรณี ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานต้องไม่นำผลงานฯ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นมาส่งประกวด ในกรณีมีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานฯ ต้องรับผิดทางแพ่งและอาญา โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรไม่มีส่วนร่วมการทำความผิดนั้น ทั้งนี้หากผู้ส่งผลงานส่งผลงานผิดประเภท คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินมีสิทธิ์ไม่พิจารณาผลงานนั้น ๆ
- ผู้เข้าร่วมประกวดต้องส่งภาพถ่ายของผลงานเข้าร่วมการประกวดทางออนไลน์ ที่ เว็บไซต์ http://www.national-art-exhibition.su.ac.th โดยภาพถ่ายผลงานแต่ละภาพต้องเป็นภาพถ่ายจริงของผลงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว มีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 DPI มีขนาดไม่ต่ำกว่า 2 MB และไม่เกิน 6 MB ต่อภาพ ประเภทของภาพต้องเป็นไฟล์ JPEG หรือ PNG
- ประเภทจิตรกรรมและภาพพิมพ์ผลงานศิลปกรรม 1 ชิ้น ส่งภาพถ่ายที่ประกอบด้วย – ภาพเต็มของผลงาน 1 ภาพ – ภาพถ่ายรายละเอียดผลงาน ไม่เกิน 4 ภาพ
- ประเภทประติมากรรม ผลงานประติมากรรม 1 ชิ้น ส่งภาพถ่ายที่ประกอบด้วย – ภาพเต็มของผลงาน 1 ภาพ – ภาพถ่ายแต่ละด้านของผลงาน 4 ด้าน (ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้างทั้ง 2 ข้าง)
- ประเภทสื่อประสม ผลงานสื่อประสม 1 ชิ้น (ชุด) ส่งภาพถ่ายที่ประกอบด้วย – ภาพเต็มของผลงาน 1 ภาพ – ภาพถ่ายรายละเอียดผลงาน ไม่เกิน 4 ภาพ
- กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มการรับสมัคร โดยศิลปินจะต้องกรอกชื่อ นามสกุล ที่อยู่พร้อมรายละเอียด และแนวความคิดของผลงาน รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในเว็บไซต์ที่ระบุ
- หากผลงานศิลปกรรมผ่านการคัดเลือกในรอบแรก ให้ถือว่าผลงานนั้นๆ ได้รับคัดเลือกให้ร่วมแสดง ศิลปินต้องนำผลงานจริงมาส่ง ณ สถานที่รับผลงาน เพื่อนำมาคัดเลือกและตัดสินรางวัลในแต่ละประเภทต่อไป
- หากผลงานจริงที่นำมาส่งหรือติดตั้ง มีขนาดเกินกว่าที่ได้ระบุไว้ในประกาศ เจ้าหน้าที่รับผลงานมีสิทธิ์ในการตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าร่วมแสดงและพิจารณารางวัล และหากพบว่าผลงานจริงที่นำมาส่งหรือติดตั้ง ไม่ตรงตามภาพถ่ายที่ได้คัดเลือกในรอบแรก กรรมการมีสิทธิ์ในการพิจารณาคัดผลงานออก
- ผลงานที่จะส่งเข้าร่วมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 69 จะต้องมีความมั่นคง มีโครงสร้างที่แข็งแรงเหมาะสมกับการติดตั้ง การเคลื่อนย้าย การจัดแสดงนิทรรศการและการจัดเก็บ ทางมหาวิทยาลัยฯขอสงวนสิทธิ์ในการนำผลงานไปแสดงฯ ณ ที่ต่างๆ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผลงาน
- ศาสตราจารย์เดชา วราชุน กรรมการ
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณเข็มรัตน์ กองสุข กรรมการ
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง กรรมการ
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณปริญญา ตันติสุข กรรมการ
- อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ กรรมการ
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณรสลิน กาสต์ กรรมการ
- อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร กรรมการ
- ศาสตราจารย์กมล เผ่าสวัสดิ์ กรรมการ
- อาจารย์อรรฆย์ ฟองสมุทร กรรมการ
- ผู้อำนวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขานุการ
Discover a new realm of flavor and satisfaction with! Say goodbye to ordinary smoking experiences and embrace the rich, bold tastes that come with every puff. Whether you’re a seasoned vaper or just starting your journey, IGET Shion offers a perfect blend of convenience and quality. Elevate your vaping game today and experience the difference that premium craftsmanship can make. Don’t just vape-make it memorable with iGet!
5. รางวัล
คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน จะตัดสินให้รางวัลแต่ละประเภท โดยกำหนดรางวัล ดังนี้
· ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง (จำนวน 1 รางวัล) รางวัลละ 200,000.-บาท
· ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน (จำนวนไม่เกิน 2 รางวัล) รางวัลละ 150,000.-บาท
· ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง (จำนวนไม่เกิน 2 รางวัล) รางวัลละ 100,000.-บาท
หมายเหตุ :- ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลหรือร่วมแสดง จะได้รับเกียรติบัตรทุกท่าน
:- คณะกรรมการอาจตัดสินให้หรืองดรางวัลใด จากผลงานในแต่ละประเภท ตามคุณภาพของผลงานในแต่ละปี นอกจากนี้คณะกรรมการฯจะคัดเลือกผลงานศิลปกรรมที่มีคุณค่าแต่ไม่ได้รับรางวัลเข้าร่วมแสดงอีกจำนวนหนึ่ง
อนึ่ง การตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินถือว่าเป็นที่สุด จะอุทธรณ์มิได้
6. กรรมสิทธิ์ของผลงานที่ได้รับรางวัล และลิขสิทธิ์การเผยแพร่
- งานศิลปกรรมที่ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยมเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร มีสิทธิ์ในการดูแลและจัดการผลงาน รวมถึงเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและเชิงพาณิชย์
- ผลงานศิลปกรรมทุกชิ้นที่ส่งเข้าร่วมแสดงในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากรสามารถเผยแพร่ภาพผลงานในรูปแบบของสูจิบัตร สิ่งพิมพ์ รวมทั้งสารสนเทศสมัยใหม่ทุกประเภท โดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่มีค่าลิขสิทธิ์
- หากปรากฏว่าผู้สมัครไม่ปฏิบัติตามกฎข้อใดข้อหนึ่งที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ ผู้สมัครไม่มีสิทธิ์อ้างว่ากระทำผิดเพราะอ่านกติกาไม่ครบถ้วน มหาวิทยาลัยศิลปากร มีอำนาจในการตัดสิทธิ์ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
7. ศิลปินชั้นเยี่ยม
เพื่อเป็นการสนับสนุนศิลปินไทยที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์งานศิลปะอันมีคุณค่าและส่งเสริมมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงยกย่องให้เป็น “ศิลปินชั้นเยี่ยม” โดยกำหนดคุณสมบัติของศิลปินผู้ที่สมควรจะได้ รับเกียรติยกย่องให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ดังนี้
- ศิลปินผู้ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม เหรียญทองครบ 3 ครั้ง ในประเภทเดียวกัน
- ศิลปินผู้ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม เหรียญทอง 2 ครั้ง กับเหรียญเงิน 2 ครั้ง ในประเภทเดียวกัน
8. กำหนดเวลา
- การส่งภาพถ่ายผลงานพร้อมใบสมัครในระบบออนไลน์
วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 ถึง วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2567 ทางระบบออนไลน์ที่ เว็บไซต์ https://national-art-exhibition.su.ac.th - การคัดเลือกภาพถ่ายผลงานรอบแรก
วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2567 - ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมแสดง เพื่อพิจารณารางวัล
วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2567
ทั้งนี้คณะกรรมการมีสิทธิ์ในการไม่พิจารณาผลงาน หากผลงานนั้น ๆ ไม่เป็นไปตามประเภทที่ได้ระบุไว้ข้างต้นโดยการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด จะอุทธรณ์มิได้ - การส่งผลงานจริง
วันพุธที่ 3 กรกฎาคม 2567 ถึง วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม - การคัดเลือกและตัดสินผลงาน
วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม - ประกาศผลการตัดสิน
วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2567 - การแสดงนิทรรศการในส่วนกลาง
– ธันวาคม 2567 – มกราคม 2568 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม - การแสดงนิทรรศการในส่วนภูมิภาค
– มีนาคม – เมษายน 2568 ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา(ห้องศิลปะนิทรรศน์) จังหวัดชลบุรี
– กรกฎาคม 2568 ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี
– สิงหาคม 2568 ณ หอศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จังหวัดสงขลา
– กันยายน-ตุลาคม 2568 ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
– พฤศจิกายน-ธันวาคม 2568 ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
– มกราคม 2569 ณ หอศิลป์พระพิฆเนศวร คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
– กุมภาพันธ์ 2569 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
หมายเหตุ :-
– มหาวิทยาลัยศิลปากรขอสงวนสิทธิ์ ในการคัดเลือกผลงานเพื่อไปแสดงทั้งในกรุงเทพฯ และในส่วนภูมิภาค ในส่วนของผลงานที่ไม่ได้รับการคัดเลือกให้ไปแสดงฯ เจ้าหน้าที่ฯจะดำเนินการติดต่อศิลปินเพื่อให้มารับผลงานคืนทันที
– การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติสัญจร ในจังหวัดสงขลาจะสลับการแสดงงานระหว่างสถาบันในทุกปี
- การรับผลงานคืน
ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดง แต่ไม่ได้สัญจรไปยังส่วนภูมิภาค
– ศิลปินสามารถมารับผลงานคืนได้ในวันเวลาราชการภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากการแสดงนิทรรศการในส่วนกลางแล้วเสร็จ
– เจ้าหน้าที่ฯจะแจ้งให้ทราบทันทีที่ผลงานกลับมา โดยจะส่งข้อความให้ทราบตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้ให้ไว้ในใบสมัคร
ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดง และได้สัญจรไปยังส่วนภูมิภาค
– ศิลปินสามารถมารับผลงานคืนได้ในวันเวลาราชการภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากส่วนกลางได้ดำเนินการตรวจสอบผลงานที่ส่วนภูมิภาคส่งกลับมาเรียบร้อยแล้ว
– เจ้าหน้าที่ฯจะแจ้งให้ทราบทันทีที่ตรวจสอบผลงานแล้วเสร็จ โดยจะส่งข้อความให้ทราบตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้ให้ไว้ในใบสมัคร - ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกฯในครั้งนี้ ศิลปินจะไม่สามารถขอรับผลงานคืนได้จนกว่าการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 69 ในส่วนภูมิภาคจะลุล่วง โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร จะระวังรักษาผลงานศิลปกรรมทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดอย่างดีที่สุด ยกเว้น ความเสียหายอันเกิดจากโครงสร้างผลงานที่ไม่แข็งแรง หรือ เหตุอันสุดวิสัย
- หากศิลปินประสงค์จะรับผลงานคืน แต่ไม่สามารถมารับคืนได้ตามวันและเวลาที่กำหนด ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิทรรศการศิลปะเพื่อนัดหมายวันและเวลาที่จะมารับล่วงหน้า
- ศิลปินสามารถติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการได้จาก
www.art-centre.su.ac.th
su.artcentre@gmail.com
FB: ArtCentre,SilpakornUniversity
หรือ ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-221-3841 ระหว่างเวลา 10.00 – 16.00 น.
การส่งและการรับคืนผลงาน ให้ดำเนินการในวันและเวลาที่กำหนดในข้อ 8 การแจ้งให้ศิลปินมารับงานคืนรวมถึงการติดต่อทางอื่น เช่น ทางอีเมล และอื่นๆ หากมีการติดต่อไปให้ถือว่าศิลปินได้รับทราบข้อกำหนดนั้นแล้ว และหากศิลปินผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่มารับคืนภายในวัน และเวลาที่ได้แจ้งไว้ ให้ถือว่าศิลปินเจ้าของผลงานชิ้นนั้น ยินยอมให้มหาวิทยาลัยศิลปากรมีกรรมสิทธิ์ในผลงานดังกล่าวโดยปริยาย โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรมีสิทธิ์ดำเนินการตามที่เห็นสมควร โดยอาจนำผลงานศิลปกรรมทั้งหมด หรือบางส่วน ไปหารายได้เพื่อประโยชน์ของหน่วยงานหรืออาจนำผลงานไปมอบให้สถาบันการศึกษา ส่วนราชการ หรือองค์กรต่างๆ ตามสมควร มหาวิทยาลัยศิลปากรขอสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ยกเลิกกฎและกติกาของการดำเนินงานได้ตามความเหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องแจ้ง หรือได้รับอนุญาตความเห็นชอบ และความยินยอมจากผู้สมัครในทุกกรณี
CONTACT US
www.art-centre.su.ac.th
su.artcentre@gmail.com
FB:ArtCentre,SilpakornUniversity
หรือ ติดต่อ 0-3427-3331 หรือ 02-221-3841 ระหว่างเวลา 10.00 – 16.00 น.